โครงการ Bitter like, Better life : ขมนิดชีวิตเปลี่ยน

มหาวิทยาลัยพะเยา

หมู่บ้านปางปูเลาะ บ้านผาแดง และบ้านป่าเมี่ยง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าตามพื้นที่เชิงเขา แม้เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟมาช้านานแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักเนื่องจากผู้ปลูกยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของวัตถุดิบตั้งแต่กระบวนการเก็บเกี่ยวกระบวนการแปรรูป รวมไปถึงขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการสวนและการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสกาแฟ โดยปกติจะขายเมล็ดกาแฟให้พ่อค้าคนกลางที่มารับซื้อเพื่อไปสร้างแบรนด์อื่น ๆ ดังนั้นชุมชนพื้นที่ดังกล่าวจึงยังไม่มีกาแฟในแบรนด์ของตัวเองอีกทั้งการทำกาแฟให้มีคุณภาพเป็นสิ่งที่ท้าทายและควรส่งเสริมอย่างยิ่ง

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตกาแฟให้มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานกับชุมชน
  2. เพื่อสร้างอัตลักษณ์หรือแนวทางกาแฟ Signature พะเยา ให้นำไปสู่การส่งเสริมการสร้างแบรนด์กาแฟปางปูเลาะหรือกาแฟพะเยาให้เป็นที่รู้จัก

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โครงการฯ เล็งเห็นประโยชน์ของการพัฒนาคุณภาพกาแฟให้ดีขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่คุณภาพการปลูกคุณภาพการคัดผลสุก คุณภาพการแปรรูป คุณภาพการคัดเมล็ดก่อนและหลังการคั่ว รวมไปถึงคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสโดยการพัฒนาคุณภาพต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลโดยตรงต่อรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ดังกล่าวโดยดำเนินการโครงการ ดังนี้

กิจกรรมลงพื้นที่ชุมชน

การลงพื้นที่ชุมชนเพื่อทำความรู้จักกับผู้นำชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ในการเก็บข้อมูลจะใช้แบบสอบถามที่ผ่านการคัดกรองจากที่ปรึกษา เพื่อใช้สำหรับสอบถามประเด็นปัญหาและสรุปประเด็นปัญหาควาต้องการให้ชัดเจน

กิจกรรม : ชวนคิดพัฒนา

การประยุกต์ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ในการแก้ปัญหาร่วมกับชุมชนโดยมีผู้เชี่ยวชาญการอบรมด้านกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่จะประยุกต์ใช้ในการพัฒนากระบวนผลิตกาแฟคุณภาพหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการใช้ประโยชน์กาแฟในการเพิ่มคุณค่า

กิจกรรม : บันไดสู่ความฝัน

การอบรมปฏิบัติการเกี่ยวกับการคัดคุณภาพกาแฟ โดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญการอบรมด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟได้เรียนรู้คุณภาพ เทคนิคการคั่วกาแฟ การทดสอบชิม (Cupping) และการสร้างอัตลักษณ์กาแฟ Signature

กิจกรรม : ติดตามเพื่อเรียนรู้ใหม่

การติดตามกิจกรรมชาวบ้านลักษณะ Plan-Do-Check-Action (PDCA) เพื่อให้เกิดกระบวนการปรับโจทย์เพื่อพัฒนาชุมชนพื้นที่โดยอาจจะมีการเชิญหน่วยงานท้องถิ่น (นายอำเภอ เกษตรอำเภอเทศบาล) ภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมรับฟังการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้เกิดการบรูณาการและการดำเนินการอื่น ๆ ร่วมกันต่อไปในอนาคต

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

เศรษฐกิจ

ได้กรรมวิธีแปรรูปกาแฟคุณภาพเพื่อนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อไปซึ่งจะทำให้มูลค่าของกาแฟเพิ่มขึ้น เกิดการเพิ่มมูลค่าสินค้าและวัตถุดิบ สร้างรายได้ภายในกลุ่มวิสาหกิจ

สังคม

ได้การสร้างกลุ่มผู้แปรรูปกาแฟคุณภาพเพื่อนำไปต่อยอดและพัฒนายังกลุ่มแปรรูปอื่น ๆ โดยกลุ่มนำร่องนี้จะเป็นตัวอย่างนักพัฒนาที่ดีในชุมชน สามารถผลิตสินค้าได้เอง สร้างความภาคภูมิใจภายในกลุ่มวิสาหกิจเกิดการอนุรักษ์พันธุ์กาแฟท้องถิ่นและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปยังสินค้าประเภทอื่น

สิ่งแวดล้อม

จะทำให้เกษตรกรเห็นคุณค่าของวัตถุดิบและการใช้ประโยชน์สูงสุดจากกาแฟและตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นชุมชนต้นน้ำที่ต้องรับผิดชอบต่อชุมชนปลายน้ำ

แถวหน้า (เริ่มจากซ้ายไปขวา)

  1. นางสาวสุจิตรา อุ่ยสันติศักดิ์
  2. นางสาวญาณินท์ แสนเตชะ
  3. นางสาวศุภวรรณ ฝีปากเพราะ
  4. นางสาวกชพรรณ โสภาคะยัง
  5. นางสาวธัญวรัตม์ กุลจันทร์
  6. นางสาวณัฐพร คำวัน
  7. นางสาวอาภัสรา ย้อยรุ่มเรื่อง
  8. นางสาวปาลิตา เอี่ยมสกุล
  9. นางสาวสุธิชา สรีคำ

แถวกลาง (เริ่มจากซ้ายไปขวา)

  1. อาจารย์ณัฐวุฒิ สมยาโรน
  2. อาจารย์พิพัฒน์ ธนากิจ
  3. ดร.คุณการ ขัติศรี
  4. อาจารย์สาริณีย์ ภาสยะวรรณ
  5. นางสาววันเพ็ญ ถาวรโชติ
  6. นางสาวมณีนุช เภตรา
  7. อาจารย์สุพรรณ์ ทองเพชร
  8. อาจารย์เกรียงศักดิ์ ฐานะกอง
  9. อาจารย์สันติพันธ์ เฉียบแหลม

แถวหลัง (เริ่มจากซ้ายไปขวา)

  1. นางสาวดารินทร์ กรุมรัมย์
  2. นายศุภวิชญ์ พรมศักดิ์
  3. นายอชิร ค้าทันเจริญ
  4. นายอัครพล เมืองมาหล้า
  5. นายสิรวิชญ์ ช่างสิริมงคล
  6. นายภาณุพงศ์ ทิพย์อักษร
  7. นางสาวจณิสุตา สินทอง
  8. นางสาวจิดาภา กุลลาว
แชร์ข่าวสาร :