โครงการ “จาก” วิถีชีวิต สู่เศรษฐกิจชุมชน  ส่งเสริมผลิตภัณฑ์จาก “ต้นจากทะเล Nypa Palm”

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง

ชุมชน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง “สูบบุหรี่ใบจาก” อย่างแพร่หลาย ทั้งยังเป็นแหล่ง “ผลิตมวนบุหรี่ใบจาก” ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ “คนใน” มองว่าการเสพใบจาก คือความสุข  ส่วนการผลิตนั้น  คือรายได้ ในขณะที่ “คนนอก” มองการเสพ คือการบ่อนทำลายสุขภาพ  การผลิต คือกระบวนการกัดกร่อนสังคม เมื่อ 2 ปัญหามาทับซ้อนกัน บนการมองต่างมุม  ชมรมรากแก้ว ม.อ.ตรังเริ่มที่ปัญหา “ขยะทางจาก” ที่เหลือจากกระบวนการผลิตมวนยาสูบ จึงเกิดเป็นความคิดที่ จะนำไปแปรรูปเป็น “กระดาษจาก” …เมื่อดำเนินการโครงการฯ มาระยะหนึ่ง พบว่าส่วนอื่นของต้นจากสามารถ นำมาใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย ชมรมรากแก้ว ม.อ.ตรัง จึงนำองค์ความรู้และทฤษฎีจากห้องเรียนสู่การลงมือปฏิบัติเพื่อส่งเสริมชุมชนในการปรับเปลี่ยนวัตถุดิบจากต้นจากให้มีมูลค่าสูงขึ้น  พร้อมทั้งขยายพื้นที่ร่วมพัฒนาเป็น 7 ชุมชน 7 กลุ่มผลิตภัณฑ์ จึงเกิดเป็นความคิดที่จะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต “ผู้เสพและผู้ผลิต” มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่มูลค่าสูงกว่า เพื่อเปลี่ยนวิถีผู้เสพให้เป็นวิถี”ผู้รังสรรค์ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง”

วัตถุประสงค์

1.ด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับวิถีชุมชนที่มีต้นจากเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้สังคมได้เข้าใจบริบทของชุมชนอย่างลุ่มลึก รอบด้านทั้ง สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเห็นถึงแนวทางการช่วยแก้ปัญหาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

2.ด้านชุมชน เพื่อจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากต้นจากที่มีจํานวนมากที่ถูกทิ้ง รวมถึงสร้างรายได้และอาชีพเสริมให้แก่ชุมชน

3.ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดการวัสดุเหลือใช้จากต้นจาก ที่ใช้ในอาชีพตามวิถีชุมชน เช่น ก้านจากที่เกิดจากการผลิตมวนใบยาสูบที่เพิ่มมากขึ้น

4.ด้านเศรษฐกิจ เพื่อให้ชุมชนได้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

5.ด้านธุรกิจดิจิทัล พลักดันผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรู้จักไปทั่วโลก โดยทําการโปรโมท สินค้าในรูปแบบ E-Commerce เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางโลกออนไลน์และทดลองการขายในเว็ปไซต์ต่างประเทศ เช่น Makro Lotusis Ablibaba หรือ Amezon เป็นต้น

6.ด้านความเป็นนานาชาติ จะดําเนินการจัดโครงการย่อยภายใต้แนวคิดการเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมการขึ้นรูปเป็นภาชนะสําหรับวัสดุปลูกจากเส้นใยทางจาก ให้แก่มหาวิทยาลัยในภาคี 

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

1. กิจกรรม “ศึกษาชุมชนที่มีต้นจากเป็นวิถีชีวิต ในเขตอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง” 

4. โครงการวิจัย (IS)  “The Community’s Needs of Developing Thai Handicraft from Nypa Palm: A Case Study of Taram, Kantang District, Trang Province” 

7. โครงการวิจัย(IS)  “การหาต้นทุนผลิตภัณฑ์ชุมชนจากต้นจากประเภทน้ำตาลดอกจากเข้มข้น ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง”  

2. กิจกรรม “กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มาจากต้นจากทะเล และการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พร้อมส่งเสริมให้ชุมชนผลิต”

5. โครงการวิจัย (IS) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีต้นจากเป็นฐานสู่ตลาดนานาชาติออนไลน์: กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากต้นจากทะเล ในพื้นที่ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

8. โครงการเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับต้นจากทะเล ในชื่อ  Nypa Palm International Virtual Conference 2022 
“ต้นจากทะเล” ในบริบทของสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความยั่งยืนผ่านการตลาด Local2Global

3. การสร้างสรรค์พื้นที่ที่มีต้นจากแปลงให้เป็นพื้นที่ทางการท่องเที่ยว “The Thematic Tours” ทัวร์ทางเลือกใหม่ที่มีต้นจากเป็นฐาน ในรูปแบบ Virtual 

6. โครงการวิจัย (IS)  การสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่มีผลิตภัณฑ์จากต้นจากเป็นฐาน ในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

9. โครงการประกวด (นานาชาติ) “Digital Marketing:  แผนการตลาดเพื่อโปรโมทผลิตภัณฑ์ที่มีวัสดุตั้งต้นมาจาก “ต้นจากทะเล”(Nypa palm)” ไอเดียเป๊ะ ผลิตภัณฑ์ปัง ประกาศให้ดังไปทั่วโลก 

ผลกระทบการดำเนินครงการ

เศรษฐกิจ

ชาวบ้านในชุมชนนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเสริม เพื่อหาเลี้ยงชีพคนในครอบครัว รวมถึงช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาดทั้งภายใน/ต่างประเทศ
(SDG ในมิติ Prosperity)

สังคม

ชุมชนมีการรวมกลุ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิต ผลิตภัณฑ์จากต้นจากทะเล และทำให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิต ผลิตภัณฑ์จากต้นจากทะเล เพื่อให้บุคคลภายนอกเข้ามาศึกษาหาความรู้ (SDG ในมิติ People)

สิ่งแวดล้อม

สามารถจัดการวัสดุเหลือใช้จากต้นจากที่ใช้ในอาชีพตามวิถีชีวิตชุมชน เช่น ก้านจากที่เกิดจากการผลิตมวนใบยาสูบที่เพิ่มมากขึ้น ลดปัญหาการทิ้งก้านจากอย่างไม่เป็นระเบียบและฟื้นคืนทัศนียภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน (SDG ในมิติ Planet)

สมาชิกทีม

(จากซ้ายไปขวา)

1.) นายค็อยรุลมัยนี มะ  

2.) นางสาวอามีเนาะห์ โตะแวโซะ

3.) นายมุสตากีม เกษตรกาลาม์ 

4.) นางสาวอัยน่า พันดุสะ 

5.) นายณัฐพล สมานมิตร  

6.) นางสาวปิ่นมนัส แป้นช่วย 

7.) นางสาวธวัลพร ชุมเชื้อ  

8.) นางสาวนูรูวาฮีดา มูตู 

9.) นายอัลอัสรี หะยียูโซ๊ะ 

10.) นางสาวรินรดา โฉมทอง

11.) นางสาวรัยมี่ ยมนัตถุ 

12.) นางสาวภาวิณี ทองจีนสังข์ 

13.) นายธีรพัฒน์ เพรชสกูล 

14.) นางสาวมูนีเราะห์ โตะแวโซะ  

15.) นายสนกิบพลี ใบสะเหล็ม  

16.) อาจารย์ณฐ ย่าหลี  

17.) ดร.สติมา โรจนวงศ์ชัย  

18.) นางสาวสุธัญญา หนูนรินทร์   

19.) นางสาวตัสเนีย หลงโดย 

20.)  นางสาวนฤนารถ อินทจักร์

แชร์ข่าวสาร :