โครงการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

พื้นที่ชายแดนภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นทั้งที่ราบลุ่มและป่าเขา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งพืชเศรษฐกิจที่มีมาก เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ในพื้นที่ยังมีครัวเรือนยากจนที่มีรายได้น้อยอยู่จำนวนมาก ซึ่งมีรายได้จากการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ โดยบางส่วนอาศัยหรือมีที่ดินทำกินอยู่ในพื้นที่ป่าเขา ซึ่งระบบไฟฟ้าหลักเข้าไม่ถึง และเกษตรกรไม่มีกำลังทรัพย์และความสามารถในการดำเนินการเพื่อใช้ไฟฟ้า เกษตรกรจึงมีความยากลำบากในการใช้น้ำในพื้นที่เกษตรกรรมดังกล่าว โดยบางส่วนใช้วิธีการขนน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอยู่ไกลจากพื้นที่เกษตรกรรม บางส่วนใช้การขุดบ่อบาดาล และใช้แรงงานคนในการขนน้ำใช้ในพื้นที่ และบางส่วนใช้เครื่องสูบน้ำที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ทำให้เพิ่มรายจ่ายในการทำเกษตรกรรม

วัตถุประสงค์

1.เพื่อแก้ปัญหาการทําเกษตรกรรมและปศุสัตว์ในพื้นที่ห่างไกล ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง

2.เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนเพื่อการเกษตรและปศุสัตว์

3.เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรพื้นที่ห่างไกลในจังหวัดยะลาให้มีความเข้มแข็งและมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตร สามารถพึ่งพาตนเองได้

4.เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทํางานและการบริหารจัดการของนักศึกษา

พื้นที่ดำเนินการ

1. หมู่ที่ 3 ตำบลอาซ่อง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

3. ศูนย์การเรียนรู้แม่ลาน ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โครงการฯ ได้ดำเนินการกับชาวบ้านและเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกลหรือระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
ในพื้นที่ 3 ตำบล ในจังหวัดยะลา และปัตตานี ตามกระบวนการ ดังนี้

1. ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย

2. หารือร่วมกับชุมชนเป้าหมายเพื่อเสนอแนวทางการดำเนินงาน

3. ลงพื้นที่ติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 3 พื้นที่ รวม 9 ระบบ ได้แก่ ระบบสูบน้ำพลังงานแสง

การขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ แม้จะเป็นพื้นที่ห่างไกลก็ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต

เกษตรกรมีความพร้อมในปัจจัยพื้นฐานเรื่องน้ำสพหรับการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ซึ่งเมื่อการทำเกษตรกรรม จึงส่งผลให้มีเกิดความยั่งยืนในการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

ไดเ้เลือกออกแบบและสร้างระบบ โดยคำนึงถึงต้นทุนที่ต่ำ เกษตรกรสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ที่หาไดเ้ในพื้นที่ และเทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อนสามารถเข้าใจ เข้าถึง องค์ความรู้พื้นฐานของการใช้พลังงานทดแทนสามารถนำไปสร้างหรือต่อยอดเองได้

การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนที่เป็นพลังงานสะอาด ยังช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมสภาพภูมิอากาศ และระบบนิเวศไม่ให้เสื่อมโทรมได้อีกทางหนึ่ง

ผลกระทบการดำเนินครงการ

เศรษฐกิจ

ชาวบ้านหรือเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเพื่อสร้างรายได้จากการเกษตรและปศุสัตว์ในพื้นที่ที่ระบบไฟฟ้าเข้าไม่ถึง โดยระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์สามารถลดการใช้พลังงานได้ประมาณ 42 ยูนิตต่อเดือน หรือประมาณ 500 ยูนิตต่อปี ซึ่งสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ประมาณ 2,250 บาทต่อปี

สังคม

ยกระดับคุณภาพชีวิตชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ห่างไกลให้สามารถทำการเกษตรและปศุสัตว์เพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน สามารถพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน สอดคล้องตามเป้าหมาย SDGs ในมิติที่ 1 และ 2

สิ่งแวดล้อม

การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานสะอาด ช่วยปกป้องสภาพแวดล้อม สภาพอากาศ และระบบนิเวศไม่ให้เสื่อมโทร ตามเป้าหมาย SDGs ในมิติที่ 13

สมาชิกทีม

(อาจารย์)

1.) ดร.วาริษา วาแม 2.) อ.ฐิติรัตน์ นิลวิจิตร  3.) อ.ลุตฟี สือนิ  4). อ.มูฮำมัดคอยรี หะยีบากา  5.) อ.เอกชัย สิงหเดช

(นักศึกษา)

แถวหน้า (นั่ง) จากซ้าย 

1.) นายอริสฟาน ปะเง๊าะ  2.) นายบูคอรี สาเร๊ะ  3.) นายอิมรอน อุมาร์ 4.) นายอารือฟัต มะแซ

แถวยืน 1 (แถวกลาง) จากซ้าย 

1.) นางสาวนูดร์มี ด่อเล๊าะ  2.) นางสาวญาวานี อาแว 3.) นางสาวอิบตีซัน อิแต  4.) นางสาวแวนูรีซัน ดือราแม

แถวยืนหลังสุด จากซ้าย 

1.) นางสาวอาอีดะฮ์ เจะมะ  2.) นางสาวณัฐภัสสร อิแอ 3.) นางสาวนัสรีน สาบวช  4.) นางสาวต่วนสุไรดา ต่วนปูเตะ 5.) นางสาวอานีซะห์ ดือราแมฃ 

แชร์ข่าวสาร :