โครงการสร้างกระบวนการเรียนรู้ อุ้มชูวิถีจิตอาสา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

สืบเนื่องมาจากทหารทุกนายต้องรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการรักษาความมั่นคง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในกลไกของการพัฒนาประเทศ โดยยึดหลักแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านการเชื่อมโยงกับคนในสังคม แต่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงแนวคิดดังกล่าวและพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมได้ เนื่องจากบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงเกิดการตั้งคำถามขึ้นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาในการเชื่อมโยงหลักแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับคนในสังคม

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างให้นักเรียนนายร้อยกลายเป็นผู้สร้างเสริมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก (Change Agent) อันจะสามารถนำให้ตนเอง
  2. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. เพื่อสร้างจิตสำนึกและอุดมการณ์ในการพัฒนา โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้ชุมชน
  4. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในการพัฒนาให้กลายเป็นชุมชนการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

การสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพภูมิลักษณ์ ภูมิสังคม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์ของชุมชน โดยกำหนดพื้นที่ชุมชนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามปัญหาของชุมชนในมิติต่าง ๆ และการสะท้อนมุมมอง แนวคิด และข้อมูลการเรียนรู้กลับคืนสู่ชุมชน เพื่อทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียนนายร้อยและชุมชนที่ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทั้งนี้ กรอบแนวคิดสำคัญของการดำเนินการคือ “ทุกพื้นที่แหล่งเรียนรู้ต้องได้รับประโยชน์ร่วมกัน”

Empowerment

การสร้างให้กลุ่มเป้าหมายตระหนักถึงความสำคัญของตนเองและชุมชน โดยเป็นผู้กำหนดแนวทางและเปลี่ยนแปลงวิถีของชุมชนได้อย่างสร้างสวรรค์

Ownership

การสร้างให้กลุ่มเป้าหมายภาคภูมิใจต่อการเป็นเจ้าของทรัพยากรและชุมชนที่สามารถเสริมศักยภาพจากสิ่งที่มีอยู่ได้ด้วยวิถีการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม

Sustainability

การสร้างให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจต่อตนเองและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อบริหารจัดการตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผลกระทบการดำเนินครงการ

เศรษฐกิจ

การสร้างทุนทางปัญญาของนักเรียนนายร้อยและกลุ่มเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ อันนำไปสู่การบริหารจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน

สังคม

การมีเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการพัฒนาและส่งเสริมให้ยกระดับเป็นภาคีแห่งการเรียนรู้ด้านแนวคิดในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

สิ่งแวดล้อม

การสร้างความตระหนักรู้ต่อความสำคัญของทุนทางสิ่งแวดล้อม อันเป็นพื้นฐานของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

สมาชิก

จากซ้ายไปขวา

แถวบน :

  1. นนร.สดุดี สิริวงศ์เครื
  2. นนร.จักราธร ธรานุพงศ์
  3. นนร.วิชญ์พล จิตชินะกุล
  4. นนร.ทฤษฏี ศรีสุข
  5. นนร.ศตายุ เรืองวัชราภัสร์
  6. นนร.เป็นหนึ่ง สุวรรณ
  7. นนร.คณิศร สอนศักดา

แถวกลาง :

  1. นนร.ธนรักษ์ พรทิพย์พิทักษ์
  2. นนร.ชนาธิป ทองศักดิ์
  3. นนร.อัฑฒ์วินท์ ทองมาลัย
  4. นนร.วชิรวิทย์ งอยปัดพันธ์
  5. นนร.กัมปาทศักดิ์ ชนะสิทธิ์
  6. นนร.จักรพันธุ์ ศรีคชา
  7. นนร.ชิษณุพงษ์ พิมพ์สอน
  8. นนร.นภนธ์ รัชตะปิติ
  9. นนร.ชิษณุพงษ์ ชนูดหอม
  10. นนร.ภูมิพัฒน์ อุปพงศ์
  11. นนร.ชนกานต์ มาลัย

แถวล่าง :

  1. นนร.สนธยา แก้วเกษการ
  2. นนร.พีรพงศ์ มากวิเศษ
  3. นนร.วีระพรรณ แป้นสุขเย็น
  4. นนร.เดชาวุธ โคนกระโทก
  5. นนร.ปาราเมศ รัตนเลิศลบ
  6. นนร.เดชาวุธ โคนกระโทก
  7. นนร.ภูมิธเนษฐ ชำนาญเวช
  8. นนร.พระพิพัฒน์ บุญยัง
แชร์ข่าวสาร :