โครงการวิศวกรรมอาสาพัฒนาชนบท (ค่ายวิศวพัฒน์)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พื้นที่บ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมบนพื้นที่สูง จึงมีข้อจำกัดในการเพาะปลูกพืชที่หลากหลาย เนื่องจากน้ำไม่เพียงพอการทำเกษตร จึงต้องปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวดพดเลี้ยงสัตว์ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากการเผาพื้นที่ทำกินเพื่อเตรียมการเกษตรส่งผลให้เกิดมลพิษในการเผาและภูเขาหัวดล้น อันเป็นสาเหตุที่ทำให้ผืนป่าถูกทำลาย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับผืนป่าบ้านเชตวัน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
  2. สร้างต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่ และเป็นแนวทางในการขยายแนวคิดนี้ไปสู่พื้นที่อื่น ๆ
  3. ที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการทำเกษตรกรรม
  4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชนให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเพาะปลูก

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสหประชาชาติ (SDGs)

การพัฒนาชนบทในรูปแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่โดยเน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นโครงการที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องระหว่างปี 25561 – 2566 ในการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ร่วมกับเกษตรกรในพื้นที่ บ้านเชตวัน ต.สันทะ อ.นาน้อย จ.น่าน จำนวน 43 ครัวเรือนพร้อมกับพื้นที่เพาะปลูก กว่า 400 ไร่ โดยในปีงบประมาณ 2561 – 2566 เริ่มมีการศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ วิเคราะห์และคืนข้อมูลให้กับชุมชน เพื่อหาสภาพปัญหาที่แท้จริงในพื้นที่ และเริ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ในปี 2552 – 2566 ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ดังนี้

เป้าหมายที่ 2 : ขจัดความหิวโหย โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีพืชผลทางการเกษตรเพียงพอจากการทำการเกษตร

เป้าหมายที่ 6 : การจัดการน้ำและสุขาภิบาล โดยพัฒนาระบบส่งน้ำอุปโภคและชลประทานในพื้นที่บ้านเชตวัน

เป้าหมายที่ 13 : การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยใช้ประโยชน์จากน้ำที่ได้จากฝาย เพื่อลดการเผาไร่

เป้าหมายที่ 15 : การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก โดยการสร้างฝายน้ำล้นบนพื้นที่สูง เพื่อกักเก็บน้ำและใช้ประโยชน์ จากแรงดันน้ำที่เกิดขึ้น ในการผันน้ำเข้าสู่ชุมชน

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

แต่เดิมเกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คิดเป็น 4.616 บาท/ครัวเรือน/ปี หลังจากโครงการฯ เข้ามามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นพืชแบบผสมผสาน โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการหลวง ปัจจุบันมีการปรับเป็นเกษตรแบบผสมผสาน 100 ไร่หรือ 50% ของพื้นที่รับประโยชน์ทั้งหมดโดยพืชที่นำมาปลูกมีความจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโต ส่งผลให้พืชส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต แต่ทุเรียนบางแปลงและพืชผักสวนครัว เช่น พริก แตงกวา ฯลฯ โตเต็มที่จนสามารถนำมาประกอบอาหารหรือรับประทานได้แล้ว ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 35,813 บาท/ครัวเรือน/ปี โดยประเมินจากราคาขั้นต่ำของผลผลิตนั้น ๆ 

  • เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร ชาวบ้านจึงเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเกษตรจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็นพืชแบบผสมผสาน
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเผาต้นข้าวโพดหลังการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมลพิษทางอากาศ (PM 2.5)
  • เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับผืนป่าถือเป็นการแก้ไขปัญหาพื้นที่ภูเขาหัวโล้นในจังหวัดน่านร่วมด้วย
  • เกษตรกรจำนวน 43 ครัวเรือน มีน้ำเข้าถึงแปลงพื้นที่การเกษตรเพียงพอสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
  • สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากไม้ผลที่ปลูก สามารถให้มูลค่าเป็นเงินได้มากกว่าการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  • เกษตรกรเข้าใจถึงการทำเกษตรแบบผสมผสาน
  • มีการสร้างบ้านดิน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรทั้งในและนอกพื้นที่ ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ในการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนให้กับพื้นที่อื่น ๆ 

สมาชิกทีม

แถวบน : 1).นายณภัทร ศิริชัยพัฒนา 2).นางสาวณัฏฐณิชา ชิตเจริญ 3).นายพิทูร หาญวิวัฒน์พงศ์

แถวที่สอง : 1).นายสิรวิชญ์ พูลเขตร์กิจ 2).นายอัษฏา ห่วงสายแก้ว 3).นายอภิหัตถ์ หอมจันทร์โต 4).นางสาววรรษชล รุจิรดำรงค์ชัย

แถวที่สาม : 1).นางสาวกวีมาศ รักษาสังข์ 2).นางสาวสกุลทิพย์ หาญสูงเนิน 3).นายพตลีลา บูรณะวิเชษฐกุล

แถวที่สี่ :1).นางสาวประภัสสร วงศ์หาญ 2).นายพสธร อุนออน 3).นางสาวปารวีย์ ประธาน

แชร์ข่าวสาร :