โครงการยุวชนอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

ความยากจนเป็นสถานการณ์หลายมิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ และความยากจนยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นและยังคงสั่งสมมานานจวบจนปัจจุบันซึ่งหลายพื้นที่ในจังหวัดสงขลาเองเองยังคงมีหลายครัวเรือน ที่ยังคงประสบปัญหาความยากจน เพื่อแก้ไขปัญหามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จึงจัดทำโครงการยุวชนอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่- ม.อ.หาดใหญ่ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน ผ่านการสร้างองค์ความรู้ให้นักศึกษา สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปพัฒนาชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติ

2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนําองค์ความรู้ไปใช้แก้ไขปัญหาชุมชนในด้านความยากจนและคุณภาพชีวิต

3. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

พื้นที่ดำเนินการ

1. วิสาหกิจชุมชนบ้านคลองต่อ ตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา 

2. ชุมชนสถานีอู่ตะเภา ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

นักศึกษาทีมยุวชนอาสา ม.อ. ได้ร่วมจัดกิจกรรมร่วมกับเกษตร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 95 คน ตั้งแต่ปี 2564 – 2565 โดยได้ดำเนินการ ดังนี้

ปีงบประมาณ 2564 วิสาหกิจชุมชนบ้านคลองต่อ

  • กิจกรรมที่ 1 รู้เก็บ รู้ใช้ รู้ออม เพื่อสร้างวินัยในการออมเงินให้ได้ตามเป้าหมาย สามารถนำเงินที่ได้มาใช้ยามที่ฉุกเฉินได้
  • กิจกรรมที่ 2 ยุวชนอาสาแบ่งปันสุข เพื่อสุขภาพเด็กและเยาวชน ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • กิจกรรมที่ 3 พัฒนาพฤติกรรมดี แบบองค์รวมแก่เด็ก และเยาวชน โดยใช้หลักคิดการกิจกรรมพัฒนาทักษะแบบองค์รวม

สังคม

  • ส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมรู้เก็บ รู้ใช้ รู้ออม ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการออมเพื่อนำไปสู่ความมั่นคงในด้านการเงิน และลดความยากจนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ได้ส่งเสริมเด็กและเยาวชนในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมดีแก่เด็กและเยาวชน และกิจกรรมยุวชนอาสา
    แบ่งปันสุขเพื่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมสุขภาวะกาย จิต และสังคมแบบองค์รวม

เศรษฐกิจ

  • ได้มีการเพิ่มผลิตภาพ และมูลค่าทางเศรษฐกิจผ่านนวัตกรรมในระบบการบันทึกปริมาณการผลิต และการวางขายของวิสาหกิจผ่าน Google sheet และปีงบประมาณ 2566
  • เกิดการสร้างงานที่ดี ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์นวัตกรรม SMEs โดยผลิตกระเป๋าจักสานด้วยยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติกที่ส่งเสริมรายได้นำไปสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 
  • มีการเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านข้อมูล และข่าวสาร ซึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงชันโรงสามารถสร้าง Facebook Page
    เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการขายและใช้ระบบจัดการต้นทุนออนไลน์เพื่อบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ

สิ่งแวดล้อม

  • ได้ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจฯ ทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน ที่ทำมาจากงานวิจัยเส้นหวายเทียมซึ่งเป็นยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมทำให้ช่วยลดปริมาณขยะและนำมาสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

สมาชิกทีม

(เรียงจากซ้าย – ขวา)

1.) นายจักรี ทินสุวรรณ์ 

2.) นายอิรฟาน เจ๊ะอุบง

3.) นายพลเชฏฐ์ เลิศอดุลย์ 

4.) นายอภิสิทธิ์ จิตนุกูล

5.) นายวรากร ศรีแก้ว 

6.) นางสาวจุฑาลักษณ์ ทองทิพย์

7.) นางสาวปฐมวดี วสุลิปิกร 

8.) นางสาวนัฐกานต์ คำสกุล

9.) นางสาวนูฮา สมันเหมือน 

10.) นางสาวศิริประภา ชำนาญธุระกิจ 

11.) นายจิรวัฒน์ วิวัฒน์สกุลวงศ์

12.) นางสาวสุนิชา บุรุษราษฎร์

แชร์ข่าวสาร :