โครงการพัฒนา Soft Skills ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ตามพระบรมราดชบายด้านการศึกษากับภารกิจของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้พัฒนารูปแบบการพัฒนานักศึกษา ที่มีชื่อว่า “วิศกรสังคม” เพื่อสร้าง Soft Skills ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยกระบวนการพัฒนาทักษะวิศกรสังคมให้กับนักศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ข้ามศาสตร์แบบลงมือปฏิบัติจริง (Multidisciplinary Acting Learning) เพื่อให้นักศึกษาร่วมแก้โจทย์ปัญหา (Area based) ชุมชนบ้านโป่งสลอด ตำบลโป่งสลอด อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นชุมชนที่มีพื้นที่เป็นป่ารกร้าง สภาพดินไม่สามารถเพาะปลูกได้เนื่องจากไม่กักเก็บน้ำและชาวบ้านมีความรู้ขัดแย้งในการใช้สอยพื้นที่

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้และทักษะทางวิศวกรสังคมโดยใช้เครื่องมือและกระบวนการวิศกรสังคม 5 ด้าน ได้แก่ 1) ฟ้าประทาน 2) นาฬิกาชีวิต 3) Timeline พัฒนาการ 4) Timeline กระบวนการ 5)M.I.C. Model ไปแก้โจทย์ปัญหาในชุมชนโปร่งสลอดตามหลักการ PDCA
  2. เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

คณะอาจารย์ นักศึกษาและภาคีเครือข่ายในพื้นที่มากกว่า 2,500 คน ได้ลงพื้นที่ และร่วมแก้ปัญหาร่วมกับชุมชนบ้านโป่งสลอดฯ โดยใช้เครื่องมือวิศวกรสังคม ซึ่งมีรายละเอียดกระบวนการ ดังนี้

ปีที่ 1 (พ.ศ.2563)

ปีที่ 2 (พ.ศ.2564 - 2565)

ปีที่ 3 (พ.ศ.2565 - 2566)

คณะทำงานลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่าพื้นที่เป็นป่ารกร้าง สภาพดินไม่สามารถเพาะปลูกได้ไม่เก็บกักน้ำ และความขัดแย้งของชาวบ้านในการใช้สอยพื้นที่ นำโจทย์ปัญหามาวางแผนแก้ไข โดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา

ออกแบบการจัดสรรพื้นที่ และออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเขาวังสู่ เขาแด่น จัดทำบ่อน้ำบาดาล เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ไฟส่องสว่างพลังงานแสงอาทิตย์

อยู่ระหว่างการพัฒนาดรงเรียนวิศวกรสังคม (Social Engineer School) โดยสร้างเป็นฐานการเรียนรู้ ขั้นตอนการดำเนินตามกระบวนการวิศวกรสังคม

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

เศรษฐกิจ

  • ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน
  • เป็นแหล่งดูงานด้านวิศวกรสังคมและกิจกรรมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

สังคม

  • เกิดการพัฒนาศักยภาพคน (นักศึกษา, บุคลากร,ชุมชน)
  • เกิดความสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างชาวบ้านกับสถาบันและหน่วยงานภาครัฐ
  • ลดความเหลื่อมล้ำการใช้พื้นที่ร่วมกัน

สิ่งแวดล้อม

  • ได้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของชุมชนให้น่าอยู่เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร
  • คุณภาพดินมีแร่ธาตุเพิ่มขึ้นสามารถปลุกพืชเชิงเกษตรได้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำจากระบบนิเวศ
  • มีการใช้พลังงานทดแทน

สมาชิกทีม

จากซ้ายไปขวา :

  1. นายอัครพล คงเจริญ
  2. นายธนวัฒน์ พ่วงทองเหลือง
  3. นางสาวณัฐพร เต่าทอง
  4. อาจารย์น้ำฝน แสงอรุณ
  5. นายกิตติภพ รักษาราษฏร์
  6. นายสรสิช ใจทน
  7. นายสุรสิทธิ์ ห่วงแก้วพราย
  8. นายบารมี บุญมาก
แชร์ข่าวสาร :