โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนต้นทุนจากภูมิปัญญาซั้งปลา

วิทยาลัยชุมชนปัตตานี

“มนุษย์ที่ดีเลิศ คือมนุษย์ที่ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่น” จากความสำเร็จของโครงการซั้งปลาภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์ป่าและน้ำ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยชุมชนปัตตานี สถานศึกษา และชุมชนบ้านตันหยงเปาว์ ดำเนินโครงการภายใต้แนวทางพระราชดำริ แห่งรัชกาลที่ 9 และน้อมนำหลักการทรงงาน มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ของรุ่นพี่ทีมลังกาสุกะ ทำให้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดทีมลังกาสุกะ เพื่อต่อยอดงานจากรุ่นพี่ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดอาชีพ เกิดรายได้ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชนต่อไป พวกเราทีมลังกาสุกะ จึงได้นำเอาต้นทุนเดิมจากรุ่นพี่มาต่อยอด โดยดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนต้นทุนจากภูมิปัญญาซั้งปลา โดยการต่อยอดโครงการในครั้งนี้ จะทำให้เกิดการอนุรักษ์น้ำ การดูแลป่า และการใช้ประโยชน์จากป่า สามารถทำให้เกิดอาชีพและรายได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อต่อยอดการทํางานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ให้การทํางานมีความต่อเนื่องแล้วสามารถพัฒนาพื้นที่ด้านการจัดการน้ำ รักษาป่า พัฒนาอาชีพ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

2. เพื่อน้อมนําแนวทางพระราชดําริ เกี่ยวกับเรื่องการอนุรักษ์ป่าและน้ำมาเป็นต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ร่วมกับนักศึกษาและชุมชนสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับกับชุมชนได้

3. เพื่อนําหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องซั้งปลาไปบูรณาการเรียนการสอนร่วมกับสถานศึกษาในชุมชน
ให้นักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องซั้งปลาภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์ป่าและน้ำมากขึ้น

พื้นที่ดำเนินการ

1. โรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ หมู่ที่ 4 บ้านตันหยงเปาว์ ต.ท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี 

2. ชมรมประมงพื้นอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

โครงการฯ ได้ดำเนินการร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ 30 คน ร่วมกับนักศึกษาทีมลังกาสุกะ และคณะทำงาน อาจารย์ที่ปรึกษา โดยการทำความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยชุมชนปัตตานี จำนวน 10 คน และพี่น้องประชาชนในชุมชน ซึ่งมีกระบวนการ ดังนี้

เริ่มจาก ปี พ.ศ. 2563

เกิดทีมลังกาสุกะ 1 ได้ดำเนินโครงการซั้งปลา ภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษป่าและน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นฉบับนักเรียนขึ้นในโรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในใจกลางชุมชนบ้านตันหยงเปาว์ พร้อมกันนั้นเด็กและเยาวชนร่วมเรียนรู้และอนุรักษ์ป่าและน้ำด้วย

ปี พ.ศ. 2564-2565

ทีมลังกาสุกะ 2 ได้ดำเนินกิจกรรมต่อยอดโครงการซั้งปลาภูมิปัญญาเพื่อการอนุรักษ์ป่าและน้ำ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากป่าชายเลนต้นทุนจากภูมิปัญญาซั้งปลา คณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรมต่อยอดกิจกรรมในโครงการ จนได้ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่ใช้สีย้อมผ้าจากป่าชายเลน

ปี พ.ศ. 2566

กิจกรรมที่ 1 รู้เก็บ รู้ใช้ รู้ออม เพื่อสร้างวินัย ทีมลังกาสุกะ 3 ดำเนินการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่ได้จากสีย้อมผ้าจากป่าชายเลน คณะทำงานจะดำเนินการนำผ้ามัดย้อมที่ทีมลังกาสุกะ ทำไว้ในปีที่ผ่านมา มาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานในชีวิตประจำวันได้ เช่น เสื้อผ้ามัดย้อม กางเกงผ้ามัดย้อม ผ้าเช็ดหน้าผ้ามัดย้อม ถุงผ้าลดโลกร้อนผ้ามัดย้อม ซองใส่โทรศัพท์จากผ้ามัดย้อม
รวมถึงการจัดจำหน่าย ช่องทางการตลาด การสร้างรายได้ให้กับกลุ่มและชุมชน การบริหารจัดการกลุ่มและองค์กร 

ผลกระทบการดำเนินครงการ

เศรษฐกิจ

เกิดอาชีพเสริมและรายได้จากป่าชายเลน โดยการนำเอาต้นทุนจากป่าชายเลนที่มีคุณค่ายิ่งในชุมชน มาร่วมด้วยช่วยกันคิดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่ม หรืออาชีพเสริม
เช่น การเกิดรายได้จากการจำหน่ายผ้ามัดย้อมในกับกลุ่มและชุมชน

สังคม

หลักสูตรท้องถิ่นเรื่องซั้งปลา ที่จะนำไปบูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนของเด็กนักเรียนในสถานศึกษา และมีการขยายผลไปยังสถานศึกษาใกล้เคียง ทำให้เกิดความร่วมมือการทำงานระหว่างวิทยาลัยชุมชนปัตตานี โรงเรียนและชุมชน

สิ่งแวดล้อม

ได้ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มวิสาหกิจฯ ทำผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสาน ที่ทำมาจากงานวิจัยเส้นหวายเทียมซึ่งเป็นยางธรรมชาติเทอร์โมพลาสติก เป็นนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมทำให้ช่วยลดปริมาณขยะและนำมาสู่สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น

สมาชิกทีม

1.) อาจารย์ปทุมณัฐราช นิยมเดชา 
2.) นางสาวอัซวาตี  อาเซ็ง 
3.) นายอัดนันท์ ดุหลำยะแม 
4.) นายไซนูดีน ดอเลาะ 
5.) นางสาว ไรฮาน กะมิง 
6.) นางสาว กุลวานีย์  อาลี

แชร์ข่าวสาร :