โครงการสวนเกษตรยั่งยืน เกษตรกร

โครงการสวนเกษตรยั่งยืน (Low-carbon Farm)

มหาวิทยาลัยสยาม

ในยุคปัจจุบันในยุคที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาสูงขึ้น แต่เกษตรกรกลับยังมีรายได้น้อย เนื่องจากการเกษตรแบบดั้งเดิมได้ผลผลิตน้อย ทั้งยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากเกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรปลูกผักแปลงใหญ่ เขตตลิ่งชันจำนวน 35 ราย และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการสวนเกษตรยั่งยืนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุในชุมชน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเกษตรที่ทันสมัยและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ
  2. เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการทำการเกษตร
  3. พัฒนาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ให้สามารถเข้าสู่ตลาดการค้า

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

  1. พัฒนาโรงเรือนเกษตรอินทรีย์ ขนาดพื้นที่ 2 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกผัก และเป็นพื้นที่เรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกร
  2. สมาชิกกลุ่มเกษตรกรปลูกผักแปลงใหญ่ เขตตลิ่งชัน มีสมาชิกรวม 35 ราย พื้นที่เกษตรเฉลี่ยรวมกว่า  30 ไร่
  3. ร้านค้าจำหน่ายสินค้าชุมชนผักปลอดสารของกลุ่มสมาชิก ดดยแบ่งรายได้ 20-30% เข้าส่วนกลาง

4. ส่งเสริมกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low-carbon Farm) มีการใช้จุลินทรีย์ เพื่อลดสารเคมีในดิน

5. การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน 1.สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2.กรมส่งเสริมการเกษตร 3.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสิรมสุขภาพ (สสส.) 4.คณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสยาม 5.ผู้สนับสนุนอื่น ๆ 

6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร  โดยมีนายชวน ชูจันทร์ เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม

สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้ชุมชนและเกษตร

ปลุกพืชผักสวนครัวไว้ประกอบอาหารในครัวเรือน

กลุ่มเกษตรกรมีการปลุกพืชมากขึ้นพื้นที่การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์พื้นที่การปลูกแบบสมาชิกกลุ่ม

กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ปลอดภัยการใช้ปุ๋ยหมักในกระบวนการผลิต

กลุ่มเกษตรมีการแบ่งปัน ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น เกษตรกรได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม

สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

เศรษฐกิจ

ปัจจุบันสมาชิกและชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการขายพืชผักสมุนไพรที่ปลูกเอง และนำไปขายผ่านร้านค้ากลุ่มเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 30 – 40%

สังคม

พลังของกลุ่มเกษตรผู้สูงอายุ คือพลังทางสังคมที่มีภูมิปัญญาและคุณธรรม ได้ขับเคลื่อนตนเองและชุมชนโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้เกิดสังคมที่ยั่งยืนในชุมชน

สิ่งแวดล้อม

การทำเกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนการลดปัญหา ดิน น้ำ อากาศ และลดปัญหาโลกร้อนได้จริง การส่งเสริมการปลูกพืชในชุมชน ทำให้ชุมชนมีพื้นที่สีเขียว เหมาะแก่การอยู่อาศัยและผู้เข้ามาท่องเที่ยว

Add Your Heading Text Here

จากซ้ายไปขวา

  1. นายอิสระ อุดม
  2. นางสาวอรุณรัตน์ รินชัย
  3. นางสาวประภาศิริ กาบแก้ว
  4. นางสาวสิริรัตนพันธ์ แซ่จ๋าว
  5. นางสาวญาดา วงศ์ทอง 
  6. นายศุภกร บุตรพรมมา
  7. นายศตวรรษ ฟักแก้ว 
  8. นางสาวจันทร์จิรา หารธงชัย
  9. นางสาวกานต์ดา โชติ
  10. นางสาวอติกานต์ ทาบุญสม
  11. นางสาวธัญลักษณ์ สารเทพ
  12. นางสาวอรทัย มั่นคง
  13. นางสาวนเรศ กลิ่นกุหลาบ
  14. นายธเนศ แสงทอน
แชร์ข่าวสาร :