ในยุคปัจจุบันในยุคที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคราคาสูงขึ้น แต่เกษตรกรกลับยังมีรายได้น้อย เนื่องจากการเกษตรแบบดั้งเดิมได้ผลผลิตน้อย ทั้งยังเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากเกษตรกรยังขาดองค์ความรู้ในการทำเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรปลูกผักแปลงใหญ่ เขตตลิ่งชันจำนวน 35 ราย และวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม กรุงเทพมหานคร จึงได้จัดทำโครงการสวนเกษตรยั่งยืนเพื่อช่วยเหลือกลุ่มสมาชิกผู้สูงอายุในชุมชน
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนารูปแบบการเกษตรที่ทันสมัยและเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ
- เพื่อให้เกษตรกรรู้จักการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อการทำการเกษตร
- พัฒนาด้านการบริหารจัดการกลุ่ม การพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ให้สามารถเข้าสู่ตลาดการค้า
การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
- พัฒนาโรงเรือนเกษตรอินทรีย์ ขนาดพื้นที่ 2 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกผัก และเป็นพื้นที่เรียนรู้ของกลุ่มเกษตรกร
- สมาชิกกลุ่มเกษตรกรปลูกผักแปลงใหญ่ เขตตลิ่งชัน มีสมาชิกรวม 35 ราย พื้นที่เกษตรเฉลี่ยรวมกว่า 30 ไร่
- ร้านค้าจำหน่ายสินค้าชุมชนผักปลอดสารของกลุ่มสมาชิก ดดยแบ่งรายได้ 20-30% เข้าส่วนกลาง
4. ส่งเสริมกระบวนการผลิต ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low-carbon Farm) มีการใช้จุลินทรีย์ เพื่อลดสารเคมีในดิน
5. การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงาน 1.สำนักงานเขตตลิ่งชัน 2.กรมส่งเสริมการเกษตร 3.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสิรมสุขภาพ (สสส.) 4.คณะ/หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสยาม 5.ผู้สนับสนุนอื่น ๆ
6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยมีนายชวน ชูจันทร์ เป็นประธานวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลาดน้ำคลองลัดมะยม
สร้างรายได้และสร้างอาชีพให้ชุมชนและเกษตร
ปลุกพืชผักสวนครัวไว้ประกอบอาหารในครัวเรือน
กลุ่มเกษตรกรมีการปลุกพืชมากขึ้นพื้นที่การปลูกแบบเกษตรอินทรีย์พื้นที่การปลูกแบบสมาชิกกลุ่ม
กระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผลผลิตที่ปลอดภัยการใช้ปุ๋ยหมักในกระบวนการผลิต
กลุ่มเกษตรมีการแบ่งปัน ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น เกษตรกรได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม
สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือ
ผลกระทบการดำเนินโครงการ
เศรษฐกิจ
ปัจจุบันสมาชิกและชุมชนมีรายได้เพิ่มจากการขายพืชผักสมุนไพรที่ปลูกเอง และนำไปขายผ่านร้านค้ากลุ่มเกษตรกรโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 30 – 40%
สังคม
พลังของกลุ่มเกษตรผู้สูงอายุ คือพลังทางสังคมที่มีภูมิปัญญาและคุณธรรม ได้ขับเคลื่อนตนเองและชุมชนโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทำให้เกิดสังคมที่ยั่งยืนในชุมชน
สิ่งแวดล้อม
การทำเกษตรอินทรีย์เป็นกระบวนการลดปัญหา ดิน น้ำ อากาศ และลดปัญหาโลกร้อนได้จริง การส่งเสริมการปลูกพืชในชุมชน ทำให้ชุมชนมีพื้นที่สีเขียว เหมาะแก่การอยู่อาศัยและผู้เข้ามาท่องเที่ยว
Add Your Heading Text Here
จากซ้ายไปขวา
- นายอิสระ อุดม
- นางสาวอรุณรัตน์ รินชัย
- นางสาวประภาศิริ กาบแก้ว
- นางสาวสิริรัตนพันธ์ แซ่จ๋าว
- นางสาวญาดา วงศ์ทอง
- นายศุภกร บุตรพรมมา
- นายศตวรรษ ฟักแก้ว
- นางสาวจันทร์จิรา หารธงชัย
- นางสาวกานต์ดา โชติ
- นางสาวอติกานต์ ทาบุญสม
- นางสาวธัญลักษณ์ สารเทพ
- นางสาวอรทัย มั่นคง
- นางสาวนเรศ กลิ่นกุหลาบ
- นายธเนศ แสงทอน